(เบื้องต้น)
ศาลมีมติเอกฉันท์ทักษิณปกปิดอำพรางหุ้นโดยผ่านนอมินี ใช้ตำแหน่งหน้าที่แปลงสัมปทานฯ
เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป ทำชาติเสียหาย 6 หมื่นล้าน
ภายหลังจากอ่านคำร้องของอัยการสูงสุดในฐานะผู้ร้องและคำคัดค้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
และผู้คัดค้านทั้ง 22 คนแล้ว ศาลฎีกาฯ จึงอ่านคำวินิจฉัยในประเด็นแรก
ประเด็นข้อกฎหมาย
1.วินิจฉัย ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
วินิจฉัยในประเด็นแรก คือ ศาลมีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ ตามที่ผู้คัดค้านคัดค้านหรือไม่
โดยวินิจฉัยว่า การตรวจสอบของ คตส.เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นไปตามอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองได้ ตามมาตรา 9 (1) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง เป็นมติเอกฉันท์
2.วินิจฉัย คตส.มีอำนาจตรวจสอบโดยชอบ
ประเด็นวินิจฉัยต่อมา คตส.มีอำนาจถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
ศาลวินิจฉัยว่า เป็นการดำเนินการภายใต้ขอบอำนาจตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ส่วนที่ คตส.แต่งตั้งอนุ คตส.นั้น เห็นว่า
คตส.ใช้อำนาจตามประกาศ คปค. สามารถแต่งตั้งได้ และไม่ล่วงเลยระยะเวลาตามที่ผู้คัดค้าน ทำการคัดค้าน เพราะมีกรอบเวลาชัดเจน
หากไม่เสร็จสิ้นต้องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ ทั้งหมดเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฏหมาย รวมทั้งประเด็นที่คตส.บางคน เช่น
นายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นปฏิปักษ์ของผู้ถูกร้อง แต่งตั้งเป็นประธานอนุฯ คตส.นั้น
ชอบแล้วด้วยกฎหมาย และ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจดำเนินการแทน คตส.ได้ก็ชอบแล้วด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ คดีนี้ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา แต่เป็นคดีแพ่ง จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ถูกกล่าวหามาศาล
มีมติเอกฉันท์ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้
3.วินิจฉัย คำร้องของอัยการไม่เคลือบคลุม
วินิจฉัย คำร้องที่ให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 76,621,603,061.05 บาท ของอัยการสูงสุดในฐานะผู้ร้อง
แจ้งชัดและไม่เคลือบคลุม โดยมีมติเอกฉันท์
ประเด็นข้อเท็จจริง
1. ปกปิดอำพรางหุ้น โดยผ่านนอมินี
ประเด็นวินิจฉัยผู้ถูกกล่าวหาปกปิดอำพรางหุ้นหรือไม่ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 วาระ
ยังถือหุ้นไว้ แต่ปี 2549 รวบรวมหุ้นทั้งหมดขายให้เทมาเส็ก โดยมีการโอนหุ้นให้กับผู้คัดค้านหลายคนจริง
ผู้ถูกกล่าวหาแม้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544 แล้ว ผู้ถูกกล่าวหามีอำนาจดำเนินนโยบายและแต่งตั้งกรรมการ
ในบริษัทชินคอร์ปจริง การควบคุมนโยบายของผู้ถูกกล่าวหาผ่านทางคณะกรรมการบริษัทชินคอร์ปจริง
มีมติเป็นเอกฉันท์ ผู้ถูกกล่าวหา และผู้คัดค้านที่ 1 มีหุ้นในเทมาเส็กจริง
2.การแปลงสัมปทานฯ เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป
วินิจฉัยว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป และเป็นเหตุให้ชาติเสียหาย เพราะภาษีสรรพสามิตหายไป 6 หมื่นล้านเศษ
มีมติด้วยเสียงข้างมาก ผู้ถูกกล่าวหา ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ตรา พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ทำให้ชาติเสียหาย
3.กรณีปรับลดส่วนแบ่งรายได้ในระบบบัตรเติมเงิน (Prepaid)
วินิจฉัยว่าการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (PREPAID CARD) เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส )
จึงมีมติเสียงข้างมาก เป็นการแก้ไขสัญญา เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท
ที่มา http://www.konthaiuk.com/forum/index.php?topic=9704
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น